หมอกล้า และทีมงาน SCMC (มาลิคลินิกเวชกรรมเดิม สีลม) ได้ร่วมงานของ บริษัท Novo Nordisk ในฐานะผู้ใช้ ผลิตภัณฑ์ semaglutide รายใหญ่ ของประเทศไทย
จัดที่ โรงแรมดุสิตธานี สีลม 16 พฤษภาคม 2568
ไทยเข้าสู่ยุค “ลงทุนเพื่อสุขภาพ” ดีมานด์ลดน้ำหนัก-ดูแลรูปร่างพุ่ง ตลาดความงามแตะ 3 แสนล้านบาท
เทรนด์การดูแลสุขภาพและควบคุมน้ำหนักเติบโตต่อเนื่อง แพทย์แนะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ภายใต้การดูแลของแพทย์
ข้อมูลจากกรมอนามัยชี้ 42% ผู้ใหญ่ไทยอยู่ในภาวะอ้วน ขณะที่ตลาดสุขภาพและความงามในไทยปี 2568 คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 300,000 ล้านบาท ตามการศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เพื่อการควบคุมน้ำหนักและชะลอวัยที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 7-10%
นพ.ชเนษฎ์ ศรีสุโข แพทย์ประจำโรงพยาบาลศรีสุโข จังหวัดพิจิตร และผู้ก่อตั้งมาลิคลินิกเวชกรรม สีลม กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกควบคู่กับสุขภาพที่ดี โดยมีปัจจัยสำคัญ อาทิ พฤติกรรมการบริโภคแบบใส่ใจสุขภาพ การให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ในโลกดิจิทัล ตลอดจนผลกระทบของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่มักเชื่อมโยงกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
ปัจจุบันประเทศไทยติดอันดับความชุกของโรคอ้วนในภูมิภาคเอเชีย สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุว่า คนไทยวัย 15-59 ปี ประสบภาวะโรคอ้วนถึง 42.4% (16 ล้านคน) ส่งผลงบประมาณการรักษาพยาบาลของรัฐ และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรค NCDs จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือสร้างความตระหนักและป้องกันโรคอ้วนอย่างจริงจัง เพื่อลดความเสี่ยงโรค NCDs และภาระสาธารณสุขในระยะยาว[1]”
ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ประชากรผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 70 มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่เชื่อมโยงกับสาเหตุการเสียชีวิตหลัก เช่น โรคหัวใจ, หลอดเลือดสมอง, เบาหวาน และเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งบางชนิด การลดน้ำหนักเพียงร้อยละ 5-10 ด้วยการคุมอาหารและออกกำลังกาย ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้มากในผู้ที่มีภาวะดังกล่าว[2]
แนวทางการรักษาโรคอ้วนมีหลายทางเลือก ตั้งแต่การควบคุมอาหารและปรับพฤติกรรม การออกกำลังกาย การลดน้ำหนักด้วยวิธีรับประทาน การผ่าตัดกระเพาะอาหารในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง และล่าสุดคือ การใช้เวชภัณฑ์ฉีดเพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก
“สิ่งสำคัญที่สุดคือ ไม่ควรซื้อยาลดน้ำหนักมาใช้เอง เพราะอาจเกิดอันตรายรุนแรงต่อสุขภาพ การใช้เวชภัณฑ์ลดน้ำหนักไม่ว่าจะเป็นแบบรับประทานหรือฉีด จำเป็นต้องเลือกที่ได้รับการรับรองคุณภาพอย่างถูกต้องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะแพทย์จะช่วยประเมินสุขภาพ กำหนดขนาดยา ปรับแผนการรักษาเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา” นพ.ชเนษฎ์ กล่าว
ล่าสุด มีนวัตกรรมลดน้ำหนักที่มีตัวยาเซมากลูไทด์ (semaglutide) ซึ่งทำงานเลียนแบบฮอร์โมน GLP-1 ในร่างกาย ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความอยากอาหาร ส่งผลให้สามารถลดน้ำหนักได้ โดยได้รับการอนุมัติจาก FDA สหรัฐอเมริกาและประเทศไทยให้ใช้สำหรับ chronic weight management
หรือในการลดน้ำหนักร่วมกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่มีภาวะอ้วน (BMI ≥ 30 kg/m²) หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (BMI ≥ 27 kg/m²) ร่วมกับมีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดที่ 2 หรือไขมันในเลือดสูง[3]
การรักษาด้วยเวชภัณฑ์ฉีดที่ได้มาตรฐานจึงไม่ใช่เพียง “เทรนด์” แต่เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในระยะยาว หากอยู่ภายใต้การติดตามของแพทย์
[1] https://secretary.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/370261
[2] https://www.fda.gov/news-events/press-announcements/fda-approves-new-drug-treatment-chronic-weight-management-first-2014
[3] http://www.medi.co.th/news_detail.php?q_id=348