ประวัติ - โรงพยาบาลศรีสุโข
โรงพยาบาลศรีสุโข เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กของครอบครัวคุณหมอกล้าที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 (โดยมีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่การเป็นสหคลินิก ตั้งแต่ พ.ศ. 2531) โดยคำว่า ศรีสุโข เป็นนามสกุลที่มาจากการรวมคำว่า ศรี และ สุโขทัย เข้าด้วยกัน อันหมายถึง ศรีแก่สุโขทัย


ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2550
ย้อนกลับไป สมัยปู่ของสามีของคุณย่าอัมพร ตันเจริญ ต้นตระกูลของคุณหมอกล้า เคยอาศัยอยู่ที่จังหวัดสุโขทัยเป็นเจ้าของตลาดศรีสำโรงที่เคยมีฐานะ แต่หมดเนื้อสิ้นตัวไปเพราะเป็นคนยุคเก่า ที่ไม่รู้จะสอนลูกหลานให้สืบต่อคุณค่าอย่างไร พอมาสมัยคุณย่าท่านเป็นช่างตัดเสื้อเก่าฝีมือดี แต่ยากไร้ แต่ได้กำเนิดบุตรหลายคน แม้จะไม่ได้เลี้ยงดูนายแพทย์พัฒนัตถ์ ศรีสุโข หนึ่งในบุตรชายของท่านที่เคยเป็นเด็กกำพร้า จึงเป็นผู้อยู่เบื้องหลังทุกความสำเร็จของตระกูลและมาลิคลินิกในภายหลัง
ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโรงพยาบาลศรีสุโข เพราะท่านเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลแห่งนี้ร่วมกับภริยาและสร้างกลยุทธ์ จัดประชุมพัฒนาอยู่เป็นระยะ มีระบบการสอนเพื่อสร้างคนให้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์แก่สังคม แม้ว่าคุณแม่ของเขา(ย่า) จะไม่ได้เลี้ยงเขามาแต่คุณย่าก็มาเลี้ยงหลานก็คือหมอกล้าและน้องๆ จึงทำให้มีความอบอุ่นเกิดขึ้นในรุ่นของแพทย์กล้าและน้องๆ
ผู้ร่วมก่อตั้ง โรงพยาบาลศรีสุโข
นายแพทย์พัฒนัตถ์ ศรีสุโข (หมอตั้น)
เป็นแพทย์ที่มีอุดมการณ์เพื่อชาวชนบท ที่สำเร็จการศึกษาจากศิริราชพยาบาล และเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรม ท่านใช้วิชาความรู้ และประสบการณ์ที่สั่งสมมาหลายปีในการดูแลคนไข้ด้วยความรัก และความใส่ใจตลอดหลายปีที่ผ่านมา และก่อร่างสร้างโรงพยาบาลพิจิตร โรงพยาบาลประจำจังหวัด ในฐานะข้าราชการร่วมกับภริยา สมัยนั้น จนเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ดูแลโรคให้คนหลายแสนคนหรือร่วมล้านคน ตลอดระยะเวลา 30-40 ปี และ ต่อมาพัฒนาโรงพยาบาลพิจิตร จนกลายเป็นโรงเรียนแพทย์ ที่สอนนิสิตนักศึกษาแพทย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และมีแพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้นมาก

นายแพทย์พัฒนัตถ์เคยเป็นหัวหน้าแผนกฉุกเฉินและ หัวหน้าแผนกศัลยศาสตร์ ส่วน แพทย์หญิงชัญวลี เคยเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการฯ และหัวหน้าแผนกสูตินรีเวชศาสตร์ รวมถึงประธานองค์กรแพทย์ฯ ทั้งสองท่านจึงครบเครื่องทั้งเรื่องการตรวจ และทักษะการบริหารจัดการองค์กร ตลอดจนกระบวนการพัฒนาระบบแพทยศาสตรศึกษา เป็นที่จดจำในด้านดีของคนจำนวนมาก พวกเขามุ่งหน้าทำเพื่อส่วนรวมตัวอย่างเช่นสมัยโควิดระบาด เป็นกลุ่มแรกของจังหวัดที่ผูกสัมพันธ์กับ ทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ในกรุงเทพมหานคร ในการนำวัคซีนเข้าไปฉีดให้พระสงฆ์ คนพิการ ฟรี ทั้งจังหวัดพิจิตร
หลังจากเกษียณทั้งคู่จึงตัดสินใจสร้างโรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็กขึ้นที่จังหวัดพิจิตรชื่อ โรงพยาบาลศรีสุโข เป็นโรงพยาบาลทั่วไป โดยมีและลูกๆ ช่วยกันเป็นแพทย์สานต่อเจตนารมณ์ในการดูแลสุขภาพของประชาชนทุกระดับที่เข้ามารับบริการให้ดียิ่งขึ้นไป พอถึงจุดหนึ่งการเป็นแพทย์ที่ดีไม่ร่ำรวยแต่ไม่อดตายดังพระราชดำรัสของพระราชบิดา ก็ได้สนับสนุนแพทย์กล้าในการเปิดคลินิกที่กรุงเทพมหานคร และสร้างธุรกิจอื่นๆ เช่น บริษัทต่างๆ หรือ อาหารเสริมเพื่อต่อยอดกิจการและ เมื่อมีฐานะบ้างเล็กน้อย ก็จะได้มีกำลังช่วยเหลือและแบ่งปันเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น หรือ สังคมสืบไป

แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข (หมอหวิว)
คุณแม่นั้นเป็นทั้งแพทย์สูตินรีเวช วิทยากร และนักเขียนที่ได้รับรางวัล ทั้งยังเป็นกรรมการแพทยสภาอาวุโสจากการเลือกตั้งมานานหลายสิบปี ได้รับรางวัลผู้เสียสละของประเทศชาติ จากกระทรวงพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ และ เป็นผู้ได้รับรางวัลผู้อุทิศชีวิตตลอดชีพจากองค์กรสหประชาชาติ เพื่อคอยดูแลคนในต่างจังหวัด การเป็นคนระดับชาติและระดับโลกของคุณหมอชัญวลี (หมอหวิว) ศรีสุโข ก็ทำได้เพราะมีคุณพ่อ และครอบครัวที่คอยสนับสนุน
นายแพทย์ชเนษฎ์ ศรีสุโข (หมอกล้า)
บุตรคนโต เรียนจบแพทย์คุณวุฒิแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ตจวิทยา) (เกียรตินิยม) ซึ่งออกตรวจที่ศรีสุโข โรงพยาบาลเพชรรัตน์ และเป็นผู้ก่อตั้งมาลิคลินิกสีลม ที่กรุงเทพฯ


นายแพทย์ชิติ ศรีสุโข (หมอกลาง)
บุตรคนกลาง เรียนจบแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งออกตรวจที่ศรีสุโข และมีคลินิกสามสิบบาทที่ช่วยเหลือประชาชน
นายแพทย์นิรทร ศรีสุโข (หมอเกน)
บุตรคนเล็ก แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสูตินรีเวชศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และเป็นนักบริหารระดับกลางถึงระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข และเป็นผู้ทำเรื่อง digital health ระดับชาติของประเทศไทย อีกทั้งยังช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาให้คุณหมอกล้าในการดำเนินกิจการมาลิคลินิกเวชกรรมให้ราบรื่นด้วย
คุณสาธิดา ศรีสุโข (คุณอาย)
ภรรยาของนายแพทย์นิรทร พยาบาลวิชาชีพ ที่ปรึกษาด้าน Nurse Management
